เปิดเส้นทางพายุฤดูร้อนเข้าไทย เจอฝนฟ้าคะนอง พื้นที่เสี่ยงเตรียมรับมือ

วันที่ 6 เม.ย. 2567 กรมอุตุนิยมวิทยา อัพเดทผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. (นับตั้งแต่ 07.00น. ถึง 07.00น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.)10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 6-15 เม.ย. 67 init. 2024040512 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) (วิเคราะห์ตามผลของแบบจำลองฯ)

ช่วง 6-8 เม.ย.67 อากาศยังร้อนถึงร้อนจัดหลายพื้นที่บริเวณประเทศไทยตอนบน เนื่องจากหย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุม ยังมีลมตะวันตก พัดปกคลุมบริเวณภาคเหนือ อากาศแห้ง ฝนน้อย มีฝนบ้างเล็กน้อย บริเวณภาคอีสานตอนล่าง และภาคตะวันออก จากอิทธิพลของลมใต้ ตะวันออกเฉียงใต้ อาจจะเป็นช่วงที่มีโอกาสร้อนแรง อุณภูมิสูงสุดอาจถึง 41 - 43 ซ. ต้องระวังโรคที่มากับความร้อน เช่นโรคลมแดด ท้องร่วง ความเครียดที่เกิดขึ้นกับสัตว์เลี้ยง ฯลฯ ช่วงวันหยุดต้องระวังอากาศร้อนจัด

ส่วนภาคใต้ลมตะวันออก มีกำลังอ่อน พัดปกคลุม อากาศร้อนถึงร้อนจัด ฝนเกิดขึ้นได้บางแห่งบริเวณภาคใต้ฝั่งอันดามัน ช่วงนี้คลื่นลมไม่แรง ท่องเที่ยวทะเลได้ไม่มีอุปสรรค ระวังเฉพาะช่วงที่มีพายุฝนฟ้าคะนอง

9-11 เม.ย.67 ลมเปลี่ยนทิศ จากมวลอากาศเย็นแผ่ลงมาปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับจะมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกในระดับบน พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน จะทำให้มีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นในระยะแรกเริ่มบริเวณทางภาคอีสาน และภาคตะวันออก

ในวันที่ 9 เม.ย.67 เมฆเพิ่มขึ้น (ก่อนเทศกาลสงกรานต์) พอจะช่วยคลายความร้อนของอากาศร้อนได้บ้าง แต่ต้องระวังพายุฤดูร้อน (ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บ) ที่จะเกิดขึ้น เดินทางสัญจรต้องระมัดระวังบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำรวจสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง และระวังความเสียหายผลผลิตทางการเกษตรที่อาจเกิดขึ้นได้

ช่วงวันหยุดเทศกาลสงกรานต์ (12 -15 เม.ย.67) เมฆเป็นส่วนมาก มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง อากาศกลับมาร้อนอีกครั้ง (ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ภายใต้สถานการณ์ปรากฎการณ์เอลนีโญกำลังปานกลาง ซึ่งทำให้สภาวะทางอุตุนิยมวิทยาเปลี่ยนแปลงไป ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ)

เรียบเรียง มุมข่าว